เมนู ×

หน้าแรก

คอร์ส

คำถามที่พบบ่อย

ผู้ดูแลสำหรับองค์กร

เข้าระบบแอดมิน

บทนำ

       จรรยาบรรณวิชาชีพการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่นำเสนอในส่วนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพการประเมินมลคาทรัพย์สินในประเทศไทย” ซึ่งระบุถึงหลักการ และกรอบแนวปฏิบัติทางวิชาชีพที่เหมาะสมซึ่งเป็นหลักสากลที่ได้รับการยอมรับว่า ผู้ประกอบวิชาชีพในฐานะผู้ประเมินจำเป็นจะต้องยึดถือปฏิบัติและธ ำรงอยู่ในจิตสำนึกตลอดเวลา จรรยาบรรณวิชาชีพครอบคลุมทั้งแนวปฏิบัติส่วนบุคคลและแนวปฏิบัติทางวิชาชีพในด้านที่ละเอียดอ่อน ซึ่งมิใช่กรอบ แนวปฏิบัติทางเทคนิค ดังเช่นมาตรฐานการปฏิบัติทางวิชาชีพกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือจรรยาบรรณวิชาชีพเปรียบเสมือน “จริยธรรม” ของผู้ที่เลือกเข้าสู่วิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินในฐานะของผู้ประเมิน ดังนั้น ผู้ประเมินจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจในเอกสารทั้งสองส่วนควบคู่กันไป

       

       วันบังคับใช้จรรยาบรรณวิชาชีพการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน

       จรรยาบรรณวิชาชีพการประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่1 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป

       

       

จรรยาบรรณวิชาชีพเรื่องที่ 1 ความสามารถทางวิชาชีพ

       1.1 ในการจัดทำข้อเสนองานตามคำสั่งและเงื่อนไขว่าจ้างงานของลูกค้าผู้รับบริการ ผู้ประเมินต้อง เปิดเผยรายละเอียดข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณวุฒิการศึกษา ความรู้ ความชำนาญและ ประสบการณ์

       ทางวิชาชีพ และต้องมั่นใจว่ามีความสามารถทางวิชาชีพอยางเพียงพอที่จะให้บริการตามที่ได้รับ การร้องขอ ทั้งนี้ ผู้ประเมินต้องไม่ลังเลที่จะปฏิเสธการให้บริการหากไม่มั่นใจว่ามีคุณสมบัติและ ความสามารถทางวิชาชีพอย่างเพียงพอที่จะให้บริการอย่างมีประสิทธิผล

       1.2 ในการให้บริการร่วมกับผู้ประเมินรายอื่นหรือผู้ชำนาญการในวิชาชีพอื่น ผู้ประเมินต้องตรวจสอบ ด้วยความรอบคอบเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพรายอื่นเหล่านั้นมีคุณสมบัติและประสบการณ์ ทางวิชาชีพอย่างเพียงพอ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการประเมินที่กำหนดโดยลูกค้ารับบริการ และต้องระบุถึงบทบาทความช่วยเหลือของผู้ประกอบวิชาชีพรายอื่นเหล่านั้นในรายงานการประเมิน

       

       โดยเปิดเผย

       

       1.3 ผู้ประเมินต้องไม่ทำการโฆษณากล่าวอ้างหรือกล่าวเกินความเป็นจริง เกี่ยวกับคุณสมบัติทางวิชาชีพหรือความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ทางวิชาชีพของตน เพื่อให้ได้รับงานบริการที่ต้องการ

       1.4 ผู้ประเมินต้องหมั่นศึกษาและเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมทางวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาและ เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาชีพและความรู้ในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อพัฒนาคุณภาพของงาน บริการให้ได้มาตรฐานตลอดเวลา

       1.5 ผู้ประเมินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติโดยรอบคอบถี่ถ้วน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานสำหรับ

       การปฏิบัติทางวิชาชีพมาตรฐานเรื่องที่1 เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ประเมิน

       1.6 ผู้ประเมินต้องไม่รับงานประเมินที่เกินความรู้ความสามารถของตนเอง

       

จรรยาบรรณวิชาชีพเรื่องที่ 2 การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

       2.1 ผู้ประเมินมีหน้าที่ต้องศึกษาติดตามและทำความเข้าใจพัฒนาการทางวิชาชีพและการเปลี่ยนแปลง ของมาตรฐานวิชาชีพการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เพื่อให้มั่นใจว่าการให้บริการแก่ลูกค้าผู้รับบริการ เป็นไปตามมาตรฐานที่ทันสมัยอยู่เสมอ

       2.2 ผู้ประเมินมีหน้าที่ต้องติดตามพัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเช่น มาตรฐานการบัญชี เป็นต้น โดยเฉพาะในส่วนที่อาจส่งผลต่อการปฏิบัติทางวิชาชีพการประเมิน มูลค่าทรัพย์สิน

       2.3 ผู้ประเมินมีหน้าที่ต้องติดตามพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินและการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถปฏิบัติ ตามระเบียบข้อบังคับ กฎเกณฑ์และกฎหมายเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องเช่น ประกาศของธนาคาร แห่งประเทศไทย ประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและภาษีทรัพย์สิน กฎหมายเกี่ยวกับการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

       2.4 ผู้ประเมินมีหน้าที่ที่จะต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องหากได้รับ การร้องขอ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการดำเนินการไต่สวนความผิดทางวิชาชีพโดยสมาคมวิชาชีพและ/หรือหน่วยงานกำกับของรัฐ เมื่อได้ผ่านการรับรองว่าเป็นกรณีที่มีมูลความผิดแล้ว

       

จรรยาบรรณวิชาชีพเรื่องที่ 3 ความซื่อสัตย์และความเป็นกลางของผู้ประเมิน

       3.1 ความซื่อสัตย์สุจริตและความน่าเชื่อถือ

       3.1.1 ผู้ประเมินต้องไม่ประพฤติปฏิบัติใดๆ ที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือกอทำให้เกิดความเข้าใจผิด โดยการเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือละเว้นที่จะกล่าวถึงข้อมูลที่มีนัยสำคัญต่อการให้ความเห็น

       3.1.2 ผู้ประเมินต้องไม่จัดทำรายงานการประเมินซึ่งให้ความเห็นที่ผิดและมีความลำเอียงโดยเจตนา

       3.1.3 ผู้ประเมินต้องไม่ยินยอมโดยตั้งใจให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณสมบัติทางวิชาชีพที่ตนไม่มี

       3.1.4 ผู้ประเมินต้องดูแลเพื่อมั่นใจได้ว่า เจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งร่วมปฏิบัติงานด้วยจะสามารถ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพนี้ได้

       3.1.5 ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายในท้องที่ที่ให้บริการอย่างเคร่งครัด

       3.1.6 ผู้ประเมินต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวังรอบคอบ ซื่อสัตย์สุจริต น่าเชื่อถือ เยี่ยงผู้มีวิชาชีพจะพึงกระทำ

       3.2 ความเป็นกลางในการปฏิบัติทางวิชาชีพ

       3.2.1 ผู้ประเมินต้องปฏิบัติงานทางวิชาชีพด้วยความเป็นอิสระ ตรงไปตรงมา ไม่ลำเอียงและปราศจาก ผลประโยชน์ส่วนตัวใดๆ

       3.2.2 ผู้ประเมินตองไม่รับหรือให้บริการงานซึ่งมีการกำหนดการให้ความเห็นหรือข้อสรุปเป็นการ ล่วงหน้า

       3.2.3 ผู้ประเมินต้องไม่รับหรือให้บริการงานซึ่งมีการกำหนดให้ค่าบริการขึ้นอยู่กับผลการประเมิน หรือการให้ความเห็นใด ๆ ในรายงานการประเมิน

       3.2.4 ผู้ประเมินต้องไม่ให้ความเห็นโดยอ้างอิงข้อมูลที่มีนัยสำคัญที่ได้จากลูกค้าผู้รับบริการหรือ แหล่งข้อมูลอื่นโดยไม่มีการระบุเป็นเงื่อนไขเอาไว้ หรือได้รับการยืนยันจากแหล่งข้อมูล ที่เป็นอิสระ เว้นแต่ว่าเป็นการอ้างอิงที่สามารถทำได้ในลักษณะของข้อจำกัดของการประเมิน

       3.2.5 ผู้ประเมินต้องไม่ให้ความเห็นโดยอ้างอิงข้อสรุปที่ไม่มีเหตุผลสนับสนุนอย่างเพียงพอ หรือ ซึ่งเป็นข้อสรุปที่มีอคติและความลำเอียง อันจะส่งผลต่อการให้ความเห็นเกี่ยวกับมูลค่าของ ผู้ประเมิน

       

จรรยาบรรณวิชาชีพเรื่องที่ 4 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

       4.1 ผู้ประเมินต้องไม่รับหรือให้บริการงานประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งอาจพิจารณาได้ว่าจะก่อให้เกิด ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระหว่างลูกค้าผู้รับบริการหรือเจ้าของทรัพย์สินกับผู้ประเมินหรือ บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ผู้ประเมินสังกัดอยู่ หากไม่แน่ใจผู้ประเมินจะต้องหารือกับสมาคม วิชาชีพเพื่อความชัดเจนถูกต้อง และผู้ประเมินจะต้องหยุดการให้บริการทันทีที่ได้รับทราบว่า การประเมินนั้นอาจก่อให้เกิดโอกาสความขัดแย้งทางผลประโยชน์

       4.2 ผู้ประเมินต้องแจ้งให้ลูกค้าผู้รับบริการทราบทันทีที่ได้รับรู้ว่ามีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น พร้อมทั้งแจ้งให้ลูกค้าผู้รับบริการทราบว่าผู้ประเมินจะไม่สามารถให้บริการต่อไปได้ หากผู้ประเมิน ได้รับทราบภายหลังจากที่ได้ให้บริการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ผู้ประเมินจะต้องเปิดเผยให้ทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบภายในเวลาอันควร

       4.3 ผู้ประเมินต้องไม่รับงานหรือให้บริการแก่ลูกค้าผู้รับบริการตั้งแต่สองรายขึ้นไปสำหรับ ทรัพย์สิน เดียวกัน เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับการยินยอมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

       

       

จรรยาบรรณวิชาชีพเรื่องที่ 5 หลักปฏิบัติในการให้บริการทางวิชาชีพ

       5.1 ผู้ประเมินมีหน้าที่ที่จะต้องทำความเข้าใจกับลูกค้าผู้รับบริการให้ชัดเจนเกี่ยวกับงานที่พึงคาดหวังได้ จากบริการของผู้ประเมินและหลักเกณฑ์ในการคิดค่าบริการ ก่อนที่ลูกค้าผู้รับบริการจะตอบรับคำสั่ง ว่าจ้างงาน ทั้งนี้ ผู้ประเมินอาจทำความตกลงกับลูกค้าผู้รับบริการเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคิดค่าบริการ วิชาชีพแต่ต้องไม่เป็นการคิดคำนวณค่าบริการโดยอิงกับมูลค่าของทรัพย์สิน

       5.2 ผู้ประเมินมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับภารกิจของลูกค้าผู้รับบริการด้วยวิจารณญาณและการรักษา ความลับอย่างเหมาะสม โดยผู้ประเมินต้องไม่เปิดเผยข้อมูลสำคัญที่ได้รับจากลูกค้าผู้รับบริการหรือ ผลการให้บริการตามที่ได้รับมอบหมายแก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นใด นอกจากผู้ซึ่งได้รับอนุญาต จากลูกค้าผู้รับบริการ หรือผู้ซึ่งได้รับสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับการเปิดเผยรายงานการประเมิน

       5.3 ผู้ประเมินต้องไม่อ้างอิงผลงานซึ่งได้เคยให้บริการกับลูกค้าผู้รับบริการรายอื่น ในลักษณะของการโฆษณา กล่าวอ้างกับลูกค้าผู้รับบริการรายใหม่ จนกว่าจะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าเจ้าของ ผลงานนั้น

       5.4 ผู้ประเมินต้องไม่เสนอค่าตอบแทนเพื่อเป็นสิ่งจูงใจแก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่น โดยมีเจตนาเพื่อให้ ได้งานบริการที่ต้องการ หรือกระทำการอื่นใดที่อาจพิจารณาได้ว่า เป็นการสร้างความไม่เป็นธรรม สำหรับการแข่งขันทางธุรกิจกับผู้ประเมินรายอื่น

       5.5 ผู้ประเมินต้องไม่พยายามชักจูงให้บุคคลใดที่ผู้ประเมินทราบอยู่แล้วว่า กำลังรับบริการจากผู้ประเมิน รายอื่นมาเป็นลูกค้าผู้รับบริการของตน ทั้งนี้ จนกว่าการให้บริการนั้นเสร็จสิ้นไปเสียก่อน หรือ เว้นเสียแต่ว่าลูกค้าผู้รับบริการยินดีจะใช้บริการจากผู้ประเมินทั้งสองราย

       5.6 ผู้ประเมินต้องไม่ลอกเลียนผลงานหรือข้อมูลอ้างอิงของผู้อื่น และแอบอ้างว่าเป็นผลงานหรือข้อมูล อ้างอิงของตนเอง หรือกระทำการอื่นใดซึ่งพิจารณาได้ว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้อื่น ในการเสนอผลงานของตนต่อลูกค้าผู้รับบริการ

       5.7 ในการให้บริการทางวิชาชีพผู้ประเมินมีหน้าที่ที่จะต้องนำเสนอผลการให้บริการในลักษณะที่แยกแยะ ให้เห็นอย่างชัดเจนระหว่างข้อมูลข้อเท็จจริง การวิเคราะห์และการให้ความเห็นของผู้ประเมิน เพื่อมิให้ เกิดความสับสนแก่ผู้ใช้ประโยชน์จากรายงานการประเมิน

       5.8 ผู้ประเมินต้องรับรู้ว่าการลงนามรับรองในรายงานการประเมินถือเป็นความรับผิดชอบโดยสมบูรณ์ ของผู้ประเมินผู้ลงนามที่มีต่อเนื้อหาสาระและความถูกต้องของรายงานการประเมิน รวมทั้งเนื้อหา ที่อาจเป็นผลงานของผู้อื่นที่ได้รับการอ้างอิงถึง

       

       5.9 ผู้ประเมินต้องไม่จ้างงาน ส่งงาน หรือยินยอมให้บุคคล/นิติบุคคลอื่นทำงานประเมินให้ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน โดยอ้างอิงหรือใช้ชื่อหรือสำนักงานของผู้ประเมิน เว้นแต่จะเป็นผู้ประเมินร่วมหรือ ผู้ประเมินเพิ่มเติม รวมทั้งต้องไม่ให้สิทธิ์แก่บุคคล/นิติบุคคลอื่นในการให้บริการประเมินมูลค่า ทรัพย์สินในลักษณะของการให้แฟรนไชส์(franchise) หรือการให้บริการในลักษณะทำนองเดียวกัน

       

จรรยาบรรณวิชาชีพเรื่องที่ 6 หลักปฏิบัติต่อผู้ประเมินอื่นและสมาคมวิชาชีพ

       6.1 ผู้ประเมินต้องไม่ประพฤติตนในลักษณะใด ๆ ที่ทำให้เป็นการเสื่อมเสียชื่อเสียง ความน่านับถือ ความเชื่อมั่น และความน่าไว้วางใจที่ลูกค้าผู้รับบริการหรือสาธารณชน มีต่อผู้ประกอบวิชาชีพและสมาคมวิชาชีพ

       6.2 ผู้ประเมินต้องไม่พยายามทำลายชื่อเสียงทางวิชาชีพของผู้ประเมินรายอื่นหรือของสมาคมวิชาชีพไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ด้วยการโฆษณา หรือด้วยการใหข้อความที่ไม่เป็นความจริง หรือ ด้วยข้อความที่อาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดได้

       6.3 ผู้ประเมินต้องไม่เผยแพร่ข้อความต่อสาธารณชน อันเป็นการอ้างถึงความสามารถทางวิชาชีพของตนที่เหนือกว่าผู้ประเมินอื่น